วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

องค์การสหประชาชาติ
ความร่วมมือระหว่างประเทศเริ่มตั้งแต่สมัยการประชุมแห่งเวียนนา (Congress of  Vienna)  เพื่อยุติสงครามนโปเลียน  จากนั้นก็ได้มีการพัฒนามาเป็นระยะ ๆ  จนก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้นมาคือ  องค์การสันนิบาตชาติ  (League  of  Nations)  ที่กำเนิดขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่  1  และองค์การสหประชาชาติ...อ่านต่อ

ระบอบการปกครอง

ระบอบการปกครองในโลกปัจจุบัน
ระบบการเมืองการปกครอง เป็นแบบแผนที่ก่อให้เกิดข้อตกลงเพื่อให้มีผลบังคับใช้กับสมาชิกในสังคม เพื่อความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั่วโลกมีรูปแบบการปกครองอยู่ 2 แบบ คือ การปกครองระบอบประชาธิปไตย และระบอบเผด็จการ ทั้งสองระบอบนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน สำหรับประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจผ่าน 3 องค์กร อันได้...อ่านต่อ



วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

สังคมมนุษย์

   มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มมนุษย์์กับสังคมจึงแยกกันไม่ได้ เพราะมนุษย์เกิดมาต้องอาศัยสังคม พึ่งพาอาศัยและมีความสัมพันธ์ต่อกัน มีการจัดระเบียบในการมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีแบบแผน เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและการอยู่รอด และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเองและสังคมเพราะมนุษ์ืมีแบบแผนในการดำรงค์ชีวิต ซึ่งแบบแผนของมนุษย์ได้จากการเรียนรู้ การสร้างสม การสืบต่อ การถ่ายทอด จนทำให้ มนุษย์แตกต่าง จากสัตว์

ความหมายของสังคม
      คำว่า "สังคม" นั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่าง ๆ มากมาย แต่พอสรุปความหมายได้ดังนี้
     
        สังคมหมายถึง กลุ่มคนมากกว่าสองคนขึ้นไป ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นเวลายาวนานในขอบเขตหรือ พื้นที่ กำหนด ณ ที่ใดที่หนึ่ง มีการติดต่อสัมพันธ์กัน ประกอบไปด้วยสมาชิกเป็นคนทุกเพศทุกวัย ปฎิบัติตนต่อผู้อื่นภายใต้กฎเกณฑ์หรือระเบียบเดียวกัน โดยมีวัฒนธรรม ระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิต เป็นของตนเองปฎิบัติหน้าที่และแสดงบทบาทเพื่อสังคมดำรงความเป็นปึกแผ่น มั่นคงถาวร และเจริญก้าวหน้า

องค์ประกอบของสังคม 
การที่คนจะมารวมกันเพื่อทำกิจกรรม หรือดำเนินชีวิตภายใต้กฎเกณฑ์ เดียวกันนั้น ต้องมีองค์ประกอบและองค์ประกอบนั้นคือ
  1. ประชากรจำนวนหนึ่งทั้งเพศหญิงและชาย
  2. พื้นที่หรือดินแดนที่มีอานาเขตแน่นอน
  3. ความสัมพันธ์ของผู้คนมีต่อกัน
  4. การกระทำที่ต่อเนื่องจนเป็นกิจวัตร แม้ว่าจะมีหน้าที่ต่อสังคมแตกต่างกัน
  5. การประพฤติและปฎิบัติตนของสมาชิกภายใต้กรอบขอ...read more